บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในคน” โดย ศ.พญ.พรรณแข  มไหสวริยะ

เนื้อหา
- Ethical principles for Human Research

  • Nuremberg Code
  • Declaration of Helsinki
  • The Belmont Report

- Recruitment and Informed consent process
- Vulnerability and additional safeguard
- Privacy and confidentiality protection

เมื่อสิ้นสุดการศึกษาด้วยตนเองแล้ว นักศึกษาจะสามารถ

  1. บอกขอบเขตของการวิจัยในคน ที่ต้องขอรับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
    ก่อนเริ่มการวิจัย
  2. ทราบและตระหนักถึงหน้าที่ของนักวิจัย ในการพิทักษ์สิทธิ และสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมการวิจัย
  3. ทราบว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มใดเป็นกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพของตนได้อย่างเต็มที่ สมควรได้รับการดูแลเพิ่มเติม
  4. วางแผนการวิจัยโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคน

วิธีการเรียนรู้บทเรียน หัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในคน”

    • นักศึกษาควรจะต้องศึกษาสาระสำคัญให้เข้าใจก่อน แล้วจึงจะเริ่มทำกรณีศึกษาได้
    • นักศึกษาจะต้องพิมพ์คำตอบก่อน (จะทำเรียงข้อหรือไม่ก็ได้) จากนั้น submit เพื่อส่งคำตอบ
    • นักศึกษาสามารถเปิดอ่านคำตอบที่ถูกต้องได้ ภายใน 1 วันทำการ หลังจากส่งคำตอบ
    • บทเรียนทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 Ethical principles for Human Research, ตอนที่ 2  Recruitment and Informed consent process, ตอนที่ 3 Vulnerability and additional safeguard และ Privacy and confidentiality protection  นักศึกษาสามารถทำบทเรียนแต่ละตอนโดยทำต่อเนื่องได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ ควรจะศึกษาจนครบ 3 ตอนภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ หากพ้นระยะเวลานี้แล้ว ระบบจะลบข้อมูลทั้งหมดออกจากระบบ
    • เมื่อนักศึกษาทำกรณีศึกษาพร้อมตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว และได้รับคำตอบที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ขอให้ช่วยตอบแบบประเมินผล ท้ายตอนที่ 3 ข้อมูลจากแบบประเมินผลบทเรียนอิเลคทรอนิคส์ของนักศึกษา จะไม่มีผลต่อการสอบผ่านของนักศึกษา อาจารย์จะนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้เพื่อการพัฒนาบทเรียนอิเลคทรอนิคส์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
    • เมื่อตอบแบบประเมินแล้วจึงจะสามารถ print ใบ Certificate ที่รับรองว่าได้ผ่านการศึกษาหัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในคน” แล้ว เพื่อนำไปแสดงต่อบัณฑิตวิทยาลัย จึงจะถือว่าผ่านการเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์